วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เครื่องตัดโฟมไฟฟ้าแบบพกพา (Heat Cut)





1. ชื่อผลงานสิ่งประดิษฐ์ เครื่องตัดโฟมไฟฟ้าแบบพกพา ( HEAT CUT )

2. ประเภทผลงาน สิ่งประดิษฐ์เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน

3. วิทยาลัยการอาชีพพนมทวน

4. ชื่อผู้ประดิษฐ์
1. นายชรินทร ยิ้มแย้ม แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง ชั้น ปวช. 3 (หัวหน้า)
2. นายกิตติศักดิ์ วงษ์น้อย แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง ชั้น ปวช. 3
3. นายสุเมธ แผนปั้น แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง ชั้น ปวช. 3
4. นายศิริชัย น้ำดอกไม้ แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง ชั้น ปวช. 3

5. ชื่อครูที่ปรึกษา
1. นายวิรัช วิริยาลัย ตำแหน่ง ครู ค.ศ. 1 แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง
2 นายสิปปกร โสธรบุญ ตำแหน่ง พนักงานราชการ แผนกวิชาไฟฟ้ากำลัง
3. นางสาววิจิตราภรณ์ โตแก้ว ตำแหน่ง ครูพิเศษสอน แผนกวิชาสามัญ

6. บทคัดย่อ
เครื่องตัดโฟมไฟฟ้าแบบพกพาเป็นการสร้างและหาประสิทธิภาพของการทำเครื่องตัดโฟมด้วยลวดความร้อนหรือลวดนิโครม อาศัยหลักการทำงานการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อน ข้อดีของตัวสิ่งประดิษฐ์คือสามารถพับเก็บได้สะดวก เคลื่อนย้ายได้โดยง่าย ราคาต้นทุนต่ำ และมีความปลอดภัยสูงซึ่งแตกต่างจากการตัดโฟมโดยวิธีทั่วไป

7. ที่มาของการประดิษฐ์
เป็นการสร้างและพัฒนาเครื่องตัดโฟมโดยใช้ลวดความร้อนไฟฟ้าหรือลวด
นิโครมเพื่อใช้ในการทำนกประดิษฐ์ตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน
(โครงการพัฒนาอาชีพแบบบูรณาการ)ซึ่งกลุ่มอาชีพชาวบ้านชุมชนบ้านหนอง
กระจันทร์ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ได้รับการพัฒนาอาชีพการทำ
นกประดิษฐ์จากวิทยาลัยการอาชีพพนมทวน
เนื่องจากวัสดุหลักการทำนกคือโฟม แต่การตัดโฟมโดยตัวตัดโฟมที่ใช้อยู่
พบว่า ยังไม่มีความปลอดภัย และไม่สามารถปรับระดับความร้อนของเส้นลวดได้
อีกทั้งมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก เคลื่อนย้ายได้ไม่สะดวก ดังนั้นกลุ่มนักศึกษา
แผนกไฟฟ้ากำลัง จึงวางแผนและพัฒนาเครื่องตัดโฟมโดยให้สามารถแก้ไข
ปัญหาข้างต้นเพื่อพัฒนาในเชิงอุตสาหกรรมต่อไป

8. ทฤษฎี/หลักวิชาการที่นำมาใช้ในการประดิษฐ์คิดค้น
ทฤษฎีวงจรไฟฟ้าและหลักการเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานไฟฟ้า

9. วัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์ผลงานสิ่งประดิษฐ์
เพื่อสร้างและพัฒนาเครื่องตัดโฟมไฟฟ้าที่สามารถตัดโฟมได้โดยมีความปลอดภัย
และประหยัดพลังงานเคลื่อนย้ายได้สะดวก

10. คุณสมบัติหรือคุณลักษณะเฉพาะของผลงานสิ่งประดิษฐ์
สามารถตัดโฟมโดยใช้เวลาเพียงเล็กน้อย สามารถพับเก็บได้จึงสะดวกในการเคลื่อนย้ายและพกพา



เครื่องตัดโฟมแบบเก่า



เครื่องตัดโฟมที่พัฒนาขึ้น



ผลงานนกประดิษฐ์

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

น้ำสบู่เหลวจากขี้เถ้าเปลือกกล้วยน้ำว้า

น้ำสบู่เหลวจากขี้เถ้าเปลือกกล้วยน้ำว้า

1. ชื่อผลงานสิ่งประดิษฐ์ น้ำสบู่เหลวจากขี้เถ้าเปลือกกล้วยน้ำว้า

2. ประเภทผลงาน ประเภทที่ 3 สิ่งประดิษฐ์ประเภทผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

3. วิทยาลัย วิทยาลัยการอาชีพพนมทวน อาชีวศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี

4. ชื่อผู้ประดิษฐ์
1. นางสาวปราณี สุจริตจุล แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ชั้น ปวส. 1(หัวหน้า)
2. นางสาววิภานี แย้มศักดิ์ แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ชั้น ปวส. 1
3. นางสาวปทุมพร นาคพันธ์ แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ชั้น ปวส. 1

5. ชื่อครูที่ปรึกษา
1. นางสาวปิยนุช ชัยพฤติตานนท์ ตำแหน่ง พนักงานราชการ แผนกวิชาสามัญ(หัวหน้า)
2. นางกัญญา หมอกลาง ตำแหน่ง ครู คศ.2 แผนกวิชาสามัญ
3. นางสาวญาณิศา หงส์ทอง ตำแหน่งพนักงานราชการ แผนกวิชาพาณิชยกรรม




6. บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง การทำน้ำสบู่เหลวจากขี้เถ้าเปลือกกล้วยน้ำว้า
ผู้ศึกษา นางสาว ปราณี สุจริตจุล
นางสาว วิภานี แย้มศักดิ์
นางสาว ปทุมพร นาคพันธ์
ที่ปรึกษา อาจารย์ปิยนุช ชัยพฤติตานนท์
อาจารย์กัญญา หมอกลาง
อาจารย์ญาณิศา หงส์ทอง
ระยะเวลาในการศึกษา ตั้งแต่ 10 ตุลาคม 2549 ถึง 10 พฤศจิกายน 2549

จากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกล้วยน้ำว้ากล้วยน้ำว้าเป็นพืชบ้านที่รู้จักกันดีและปลูกง่ายโตเร็ว และสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายรูปแบบได้ทั้งคาวและหวานซึ่งกล้วยนั้นยังมีสาร sitoindosides I – IV ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบและเป็นแผล พบว่า sitoindosides I – IV กระตุ้นให้มีการหลั่งสารเมือกออกมากขึ้น เพื่อเคลือบผนังกระเพาะอาหาร กระตุ้นให้มีการสร้างเนื้อเยื่อของกระเพาะอาหารขึ้นปิดปากแผลและสารแทนนิน นั้นมี 2 ชนิด คือ Condensed tannins พบได้ในส่วนเปลือกต้นเป็นส่วนใหญ่ และ Hydrotysable tannins พบมาในส่วนใบ ฝัก ซึ่งแทนนินมีฤทธิ์ฝาดสมาน ซึ่งเป็นยารักษาโรคท้องเสียได้ แทนนนินมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้

วัตถุประสงค์และการดำเนินงานตลอดจนการวิเคราะห์ผลงานและสรุปผลดังนี้

ผู้จัดทำมีเป้าหมายที่จะแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์นอกเหนือจากการนำมาบริโภคเพียงอย่างเดียวโดยนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำสบู่เหลวขึ้นโดยมีการทดสอบและปรับปรุงคุณภาพตลอดระยะเวลาการดำเนินงานให้เป็นไปตามของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์โดยประเมินค่าจากแบบสอบถามผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นพบว่าความพึงพอใจของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์น้ำสบู่เหลวจากขี้เถ้าเปลือกกล้วยน้ำว้าเปรียบเทียบกับน้ำสบู่เหลวที่ใช้ตามท้องตลาดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 อยู่ในเกณฑ์ความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

7. ที่มาของการคิดค้นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
กล้วยน้ำว้าเป็นพืชที่คนส่วนใหญ่รู้จักดีมากที่สุด เพราะสามารถนำส่วนต่างๆมาใช้ประโยชน์เช่นส่วนของต้นนิยมนำมาเป็นอาหารสัตว์หรือทำงานประดิษฐ์ ส่วนผลสุกใช้ในการรับประทานเป็นอาหารโดยตรงหรือสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น กล้วยอบแห้งส่งขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถ้าหากมีการปรับปรุงคุณภาพให้ดีกว่าเดิม และมีการเพิ่มปริมาณผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จะสามารถทำรายได้ให้กับประเทศได้มากโดยในการคิดจัดทำการแปลรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำสบู่เหลวจากขี้เถ้าเปลือกกล้วยน้ำว้าในครั้งนี้เนื่องด้วยในอำเภอพนมทวนมีผลผลิตที่เกี่ยวกับกล้วยเป็นจำนวนมากและส่วนมากจะใช้ผลในการผลิตส่วนเปลือกถ้าไม่นำไปทิ้งก็จะนำไปเป็นอาหารของสัตว์เลยจึงเล็งเห็นว่าเปลือกกล้วยที่มองแล้วไม่มีคุณค่าเราสามารถนำมาทดลองอะไรได้บ้าง
ดังนั้นผู้จัดทำจึงมีแนวคิดว่าเปลือกกล้วยที่มองแล้วไม่มีคุณค่าเราสามารถนำมาทดลองเพื่อให้เกิดประโยชน์ได้อีกมากมายและสามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าได้ เช่น การทำน้ำสบู่เหลวเพราะมีสารแทนนินในเปลือกกล้วยในการช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย


8. ประโยชน์และคุณค่าของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
1. เปลือกกล้วยมีสารแทนนินที่ช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
2. น้ำมันมะกอกช่วยในการบำรุงผิวไม่ให้ผิวแห้งแตกง่ายทำให้ผิวแข็งแรงสดใสและป้องกันอนุมูลอิสระ
3. ลดอาการผดผืนกับผิวหนังหรือคันตามมือและเท้า
4. ปกป้องการระคายเคือง ต่อมือและเท้าเพราะปราศจากสารเคมี





วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

รถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้า

1. ชื่อผลงานสิ่งประดิษฐ์ รถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้า 2. ประเภทผลงาน สิ่งประดิษฐ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 3. วิทยาลัยการอาชีพพนมทน อาชีวศึกษาจังหวัด กาญจนบุรี 4. ชื่อผู้ประดิษฐ์ 1. นายณัฐพงศ์ วงษ์แก้ว แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 2. นายณรงค์ศักดิ์ ดีคำ แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 3. นายนัฐพงษ์ สุดนาวา แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 4. นายพีระพัฒน์ เรื่องอร่าม แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 5. นายมารุต ผันสืบ แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 6. นายวีรพงษ์ สมคิด แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 7. นายสนั่น แผนปั้น แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 8. นายอธิป พรมภิมาน แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 9. นายไพศาล โตลูกสม แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 5. ครูที่ปรึกษา 1. นายอำพล กาญจนแพทย์นุกูล ตำแหน่ง ครูสอนพิเศษ แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า 2. นายวิรัช วิริยาลัย ตำแหน่ง หัวหน้าแผนกช่างไฟฟ้า แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า 3. นายสิปปกร โสธรบุญ ตำแหน่ง ครูสอนพิเศษ แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า 6. บทคัดย่อ การดำเนินการสร้าง รถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้า เกิดขึ้นจากแนวความคิด ที่ต้องการประหยัดพลังงานน้ำมัน เป็นพาหนะเดินทางในระยะทางไม่ไกล ใช้เดินทางในที่แคบ เป็นพาหนะที่มีน้ำหนักเบา ขนย้ายได้สะดวก และง่ายในการบำรุงรักษา จากแนวคิดนี้นักศึกษาแผนกช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 จึงได้ระดมความคิดในการสร้างรถพลังงานไฟฟ้า ซึ่งนักศึกษาได้เห็นการออกแบบโครงรถ 2 ล้อไฟฟ้า จากร้านทำท่อไอสียแห่งหนึ่งซึ่งเจ้าของร้านได้ผลิตรถที่ใช้พลังงานน้ำมันแต่ใช้เครื่องตัดหญ้าเป็นต้นกำลัง นักศึกษาจึงได้แนวคิดที่จะดัดแปลงระบบต้นกำลังใหม่ เปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้าแทน การสร้างสิ่งประดิษฐ์นักศึกษาได้ซื้อโครงรถมาประกอบและดัดแปลงตัวโครงรถ เพื่อที่จะใช้มอเตอร์เป็นตัวต้นกำลัง อีกทั้งได้ออกแบบระบบไฟฟ้าเพื่อใช้ควบคุมระบบการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า ระบบการประจุแบตเตอร์รี่ และระบบการส่งถ่ายกำลัง เมื่อได้ทำการสร้างประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ของตัวรถเข้าด้วยกันแล้วได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของตัวรถซึ่งผลการทดลอง รถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้า สามารถวิ่งได้ความเร็วที่ 20 กิโลเมตร/ ชั่วโมง ที่น้ำหนักบรรทุก 75 กิโลกรัม พื้นที่ที่มีความลาดเอียง 30 องศารถ 2 ล้อไฟฟ้าสามารถขึ้นได้อย่างสบาย การประจุไฟฟ้าเต็ม 1 ครั้งรถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ 8 กิโลเมตรโดยที่ไม่หยุด ระบบเบรคจะตัดการทำงานมอเตอร์ทันทีขณะทำการเบรครถเป็นการป้องกันมอเตอร์ไม่ให้เกิดความเสียหายขณะเบรค รถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้าเป็นรถที่ใช้พลังงานสะอาดไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ในยุคที่ราคาน้ำมันแพง รถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้าสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของครอบครัวลงได้รถ 2 ล้อไฟฟ้าเป็นรถที่มีน้ำหนักเบา สะดวกในการเคลื่อนย้ายและการบำรุงรักษา 7. ทฤษฎี / หลักวิชาการที่นำมาใช้ในการประดิษฐ์ โดยทั่วไปพาหนะที่ใช้เดินทางในยุคปัจจุบันจะใช้ต้นกำลังเป็นเครื่องยนต์ที่ต้องใช้พลังงานน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานการทำงานของเครื่องยนต์จะคายไอเสียออกมาซึ่งไอเสียนี้จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ รถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้าได้เปลี่ยนต้นกำลังจากเครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานน้ำมัน เป็นมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอร์รี่ 24 โวลท์ เป็นแหล่งจ่ายพลัง พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานที่สะอาดไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อใช้พลังงานหมดไปแล้วสามารถบรรจุไฟกลับมาใหม่ได้ อีกทั้งหลักการควบคุมพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายให้มอเตอร์ไฟฟ้าสามารถปรับความเร็วได้และระบบป้องกันมอเตอร์ขณะทำการเบรก 8. วัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ 1. เพื่อใช้งานภายในวิทยาลัยการอาชีพพนมทวน 2. เพื่อลดเวลาในการทำงาน การทำงานมีความรวดเร็วมากขึ้น 3. เพื่อลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของวิทยาลัยการอาชีพพนมทวนกาญจนบุรี 4. เพื่อให้รู้จักคิดและวางแผนในการปฏิบัติงาน 5. เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชาช่างไฟฟ้ามาปรนะยุกต์ใช้งานในการปฏิบัติงาน 9. คุณสมบัติหรือคุณลักษณะเฉพาะของผลงานประดิษฐ์ 1. เป็นรถที่ปลอกภัยต่อสิ่งแวดล้อม 2. เป็นพาหนะที่มีน้ำหนักเบาเคลื่อนย้ายได้สะดวก 3. สามาเดินทางไปที่แคบ ๆ ได้ 4. มีความสะดวกในการดูแลรักษา 5. ประหยัดพลังงานเมื่อเทียบกับต้นกำลังที่เป็นเครื่องยนต์ 10. ประโยชน์และคุณค่าสิ่งประดิษฐ์ 1. ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางใช้ในองค์กรณ์หรือสำนักงานที่มีพื้นที่สำนักงานกว้าง 2. รถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้าเป็นรถที่รักษาสิ่งแวดล้อมในการใช้งานไม่มี่ของเสียเข้าสู่บรรยากาศ 3. ในยุคที่ราคาน้ำมันแพง รถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้าสามารถช่วยให้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของครอบครั้งลดลง 4. รถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้าได้ออกแบบให้ง่ายและสะดวกในการบำรุงรักษาตัวรถ 5. ในช่องทางที่แคบรถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้า สามารถใช้เดินทางได้เพราะตัวรถมีความกว้าง เพียง 56 cm. รวมทั้งมีน้ำหนักเบาทำให้สะดวกในการเคลื่อนย้าย 6. ทำให้สมาชิกในกลุ่ม นำความรู้ที่ได้ในการเรียนวิชาช่างไไฟฟ้ามาประยุกต์ใช้ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ รู้จักวางแผนการทำงาน รู้จักแก้ปัญหาในการทำงาน

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552

รองเท้าปีนเสา TV ( TV CLIMB SHOES )

1. ชื่อผลงานสิ่งประดิษฐ์ รองเท้าปีนเสา TV ( TV CLIMB SHOES ) 2. ประเภทผลงาน สิ่งประดิษฐ์ประเภทกำหนดโจทย์ ( สิ่งประดิษฐ์เพื่อแก้ปัญหาความยากจน ) 3. วิทยาลัยการอาชีพพนมทวน อาชีวศึกษาจังหวัด กาญจนบุรี 4. ชื่อผู้ประดิษฐ์ 1. นายพงษ์พัฒน์ จันทร์แย้ม แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 2. นายสุภกิจ บ่อบัวทอง แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 5. ครูที่ปรึกษา 1. นายอำพล กาญจนแพทย์นุกูล ตำแหน่ง ครูสอนพิเศษ แผนกวิชา ช่างไฟฟ้ากำลัง 2. นายวิรัช วิริยาลัย ตำแหน่ง ครู ค.ศ.1 แผนกวิชา ช่างไฟฟ้ากำลัง 3. นางสาวเนตรสวรรค์ พรมมา ตำแหน่ง ครูสอนพิเศษ แผนกวิชา สามัญ 7. บทคัดย่อ สิ่งประดิษฐ์รองเท้าปีนเสา TV เริ่มต้นความคิดที่จะจัดทำสิ่งประดิษฐ์จากการได้พบเห็นช่างซ่อม TV กำลังปีนเสา TV เพื่อทำการเปลี่ยนปีกรับสัญญาณภาพ การขึ้นเสานั้นทำได้ไม่สะดวกจึงเกิดความคิดที่จะประดิษฐ์รองเท้าปีนเสา TV เพื่อให้การปีนเสา TV มีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ลดความเมื่อล้าขณะทำงานบนเสา TV จึงได้ทำการออกแบบรองเท้าปีนเสา TV การออกแบบเลือกใช้วัสดุที่หาง่ายตามท้องตลาดและง่ายต่อการบำรุงรักษา เมื่อสร้างชิ้นงานเสร็จสิ้นแล้ว ได้ทำการทดลองปีนเสา TV จริง ผลการทดลอง รองเท้าปีนเสาใช้งานได้จริง การปีนเสา TV เพื่อทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ ทำได้รวดเร็วและมีความปลอดภัยมากขึ้น  ที่มาของสิ่งประดิษฐ์ รองเท้าปีนเสา TV ( Television climb shoes ) เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากการได้เห็น ช่างบริการซ่อม TV มาเปลี่ยนปีกสัญญาณภาพในการปีนเสา TV นั้นทำได้ไม่สะดวก และขาดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานบนเสา TV นั้นต้องใช้เวลานาน จึงได้เกิดความคิดที่จะประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ช่วยในการปีนเสา TV เพื่อให้การทำงานบนเสา TV นั้นง่ายและสะดวกมีความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น การทำงานบนเสา TV ทำได้นานขึ้นจึงได้ประดิษฐ์รองเท้าปีนเสา TV ขึ้น 10. วัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ 1. เพื่อให้การทำงานบนเสา TV ของช่างบริการซ่อม TV สะดวกและรวดเร็วขึ้น 2. การทำงานบนเสา TV มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น 3. นักศึกษาผู้สร้างสิ่งประดิษฐ์ ได้รู้จักวางแผนการทำงาน การแก้ปัญหาการทำงาน มีความรับผิดชอบ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 11. คุณสมบัติหรือคุณลักษณะเฉพาะของผลงานประดิษฐ์ รองเท้าปีนเสา TV มีลักษณะพิเศษดังนี้ 1. สามารถยึดติดกับเท้าของช่างบริการซ่อม TV ที่ขึ้นเสา TV ได้เลยซึ่งการขึ้นเสาแบบ เก่าทำไม่ได้ 2. สามารถใช้กับเสาที่มีขนาด 3 cm - 7 cm 3. การขึ้นเสา TV ทำได้รวดเร็วขึ้น และทำงานบนเสา TV ได้นานขึ้น 4. การขึ้นเสา TV ทำได้ปลอดภัยยิ่งขึ้น เพราะขณะขึ้นเสา TV นั้น ไม่ต้องปล่อยมือมาปลดเครื่องมือปีนเสา ซึ่งการปีนเสาแบบเดิมนั้นต้องปล่อยมือเพื่อมาปลดอุปกรณ์ขึ้นเสา อีกทั้งการออกแบบรองเท้าปีนเสา TV ให้มีฟันเลื่อยทำให้การจับเสาของรองเท้าปีนเสาแน่นขึ้น 12. ประโยชน์และคุณค่าของผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถแก้ปัญหาความยากจน รองเท้าปีนเสา TV เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยในการซ่อมแซมระบบรับสัญญาณ บนเสา TV รองเท้าปีนเสา TV ถูกออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งาน วัสดุที่ใช้ในการประดิษฐ์เป็นวัสดุที่หาได้ง่าย สามารถใช้กับเสาได้หลายขนาด อีกทั้งยังมีความปลอดภัยในการทำงานมากกว่าการปีนเสาแบบเดิม การทำงานบนเสาทำได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น จากการออกแบบรองเท้าปีนเสา TV ให้สะดวกในการใช้งานทำช่างบริการทำงานได้ปริมาณงานมากขึ้น มีเวลาในการทำกิจกรรมอย่างอื่นมากขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการปีนเสา TV เพื่อให้รองเท้าปีนเสา TV เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานต้องใช้งานควบคู่กับ เข็มขัดปีนเสาไฟฟ้า และคีมล็อคจับท่อสำหรับปีนเสา

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Objective

Blog invention-development ถูกสร้างขึ้นเพื่อนำเสนอสิ่งประดิษฐ์ ของนักเรียนนักศึกษาที่ได้ประดิษฐ์คิดค้นขณะที่กำลังศึกษาอยู่ ผลงานทุกชิ้กได้ส่งเข้าประกวดในงานสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ของสำนักงานการอาชีวศึกษาที่จัดขึ้นในแต่ละปี บางผลงานได้จดสิทธิบัตรแล้ว ผู้จัดทำมีความหวังให้ข้อมูลสิ่งประดิษฐ์ต่างเหล่านี้ ได้จุดประกายทางความคิดสำหรับนักประดิษฐ์ทั้งหลายได้นำไปต่อยอดทางความคิด เพื่อประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นมา นักเรียนนักศึกษาได้นำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างผลงานใหม่

Blue Dragon