วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

เครื่องให้ปุ๋ยอัตโนมัติ

เครื่องให้ปุ๋ยอัตโนมัติ
  ไม่ได้เขียนบทความนานเลยครับ เนื่องจากมีภาระงานสอนมากปหน่อยวันนี้มีโอกาสก็เลยเอาซะหน่อยพอดีทำสิ่งประดิษฐ์เสร็จก็เลยนำแนวคิดมาเผยแพร่ จะได้นำหลักการไปประยุกต์ใช้งาน ด้านการเกษตรซึ่งมีประโยชน์มากครับ  มาดูหลักการแนวคิดก่อนแล้วกัน


   ใช้หลักการทางดูดของปััั๊มน้ำครับดูดน้ำแล้วก็ดูดปุ๋ยไปด้วย  ครับ


    รูปนี้เป็นเครื่องที่ใช้ในการสาธิตนะครับ  ผลงานชิ้นนี้ได้ส่งประกวดสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาแล้วนะครับ  ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงครับ  ก่อนที่จะสร้างผมได้ทดลองใช้ในไร่อ้อยของตนเองนะครับ  และได้ปรับปรุงแก้ไขจากเครื่องต้นแบบหลายประการ จนทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นมากครับ ขออนุญาตเสนองานวิจัยให้ทราบนะครับเป็นผลงานของคณะทำงานครับ

บทคัดย่อ

การที่กลุ่มข้าพเจ้าได้ทำโครงการเรื่อง เครื่องให้ปุ๋ยอัตโนมัติ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดต้นทุนในการปลูกพืชให้เกษตรกร ลดเวลาในการทำงานให้เกษตรกร  เพิ่มประสิทธิภาพในการใส่ปุ๋ยให้กับพืช  ปัจจุบันเกษตรกรใส่ปุ๋ยให้กับพืชจะใช้วิธีการหว่านให้กับพืช ต้องใช้แรงงานและเวลาในการทำงานมาก อีกทั้งเมื่อหว่านปุ๋ยไปแล้วในบางครั้งต้องรอฝนตกเพื่อมาละลายปุ๋ย บางครั้งฝนไม่ตกทำให้ปุ๋ยบางชนิดระเหยไปในอากาศ ทำให้ต้องใส่ปุ๋ยมากขึ้นเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตให้สูงขึ้น การใส่ปุ๋ยบางชนิดต้องใช้การฉีดพ่นทำให้สิ้นเปลืองแรงงานและเวลาในการทำงาน  เครื่องให้ปุ๋ยพืชอัตโนมัติ ทำงานโดยอาศัยหลักการการทำงานของปั๊มน้ำ ที่เกษตรกรต้องใช้ในการสูบน้ำมาประยุกต์ดัดแปลง ออกแบบอุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อให้ปั๊มน้ำสามารถดูดน้ำปุ๋ยนำไปให้กับพืชได้อีกทั้งสามารถปรับอัตราการไหลของน้ำปุ๋ยได้ มีระบบเติมน้ำอัตโนมัติในถัง สามารถถ่ายน้ำเพื่อทำความสะอาดถังผสมปุ๋ยได้  จึงเป็นการลดการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรได้  พืชสามารถนำปุ๋ยไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   

การดำเนินการทดลอง
                        2.1 การทดลองใช้กับปุ๋ยเคมี 
            เริ่มจากเมื่อให้น้ำอ้อยผสมปุ๋ยลงในถังผสม  25 กิโลกรัม ปั๊มน้ำที่ใช้ในการทดลองนั้นมีขนาด 3 แรงม้า ขนาดปั๊ม  3 นิ้ว ในเวลา  12 ชั่วโมงจะใส่น้าในไร่อ้อยได้  1 ไร่  การควบคุมการไหลของถังใช้วาล์ว PVC ขนาด  4 หุนเป็นตัวควบคุม โดย 1 วันจะทำการผสมปุ๋ย 1 ครั้ง    ในเวลา  1 ปี เราให้ปุ๋ย เคมี  3  ครั้งครั้งละ 25 กิโลกรัมต่อไร่ รวมการใช้ปุ๋ยโดยเครื่องให้ปุ๋ยอัตโนมัติ ใช้ปุ๋ย  75 กิโลกรัมต่อไร่  ปกติชาวไร่อ้อยจะใช้ปุ๋ยประมาณ ไร่ละ 100-150 กิโลกรัมต่อไร่  โดยแบ่งให้ปีละ 2 ครั้ง
                        2.2 การทดลองใช้กับปุ๋ยชีวภาพ
            เริ่มจากการที่นำปุ๋ยชีวภาพที่หมักไว้กรองนำมาผสมในถังผสม ปั๊มน้ำที่ใช้ในการทดลองนั้นมีขนาด 3 แรงม้า ขนาดปั๊ม  3 นิ้ว ในเวลา  12 ชั่วโมงจะใส่น้าในไร่อ้อยได้  1 ไร่  การควบคุมการไหลของถังใช้วาล์ว PVC ขนาด  4 หุนเป็นตัวควบคุม โดย 1 วันจะทำการผสมปุ๋ย 1 ครั้ง 1 ปีเราให้ปุ๋ย  3 ครั้ง ปกติชาวไร่อ้อยใช้ปุ๋ยชีวภาพแบบน้ำน้อยมาก เพราะมีความยุ่งยากในการนำไปใช้   
            การให้ปุ๋ยผู้ประดิษฐ์จะให้สลับกันระหว่างเคมีกับชีวภาพ  เมื่อทำการให้น้ำอ้อยก็จะให้ปุ๋ยไปพร้อมกัน




ผลการวิจัย
การเพิ่มประสิทธิภาพการใส่ปุ๋ยให้กับพืชของเกษตรกร
             ในการศึกษาผลของการให้ปุ๋ยในไร่อ้อย จำนวน 25 ไร่  ระบบการให้น้ำแบบปล่อยไปตามร่องอ้อย ใช้ปั๊มน้ำ  3 นิ้ว 3แรงม้า  โดย  1 ปี ให้ปุ๋ย  3  ครั้ง  โดยใช้อัตราส่วน  25 กิโลกรัมต่อไร่  และให้ปุ๋ยชีวภาพ  3 ครั้ง  รวมการใช้ปุ๋ยต่อไร่ใน  1 ปี  75 กิโลกรัมต่อไร่    ซึ่งปกติเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยจะใช้ปุ๋ยเคมีที่ 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี  เมื่อเปรียบเทียบผลผลิตที่ได้จากพื้นที่  25 ไร่พบว่า  ผลผลิตขณะไม่ใช้เครื่องให้ปุ๋ยอัตโนมัติพบว่าได้อ้อย 305 ตัน  เมื่อใช้เครื่องให้ปุ๋ยอัตโนมัติได้  311  ซึ่งไม่แตกต่างกันมากนัก  อัตราความหวานของอ้อย เมื่อไม่ใช้เครื่องให้ปุ๋ยอยู่ที่ 9.5 – 11.5   เมื่อใช้เครื่องให้ปุ๋ย อัตราความหวานของอ้อยอยู่ที่ 10.0- 12.0 
            จากผลการศึกษาพฤติกรรมของการหว่านปุ๋ยในไร่อ้อยของเกษตรกรพบว่า มีการสูญเสียที่เกิดจากการหว่านปุ๋ยเพราะปุ๋ยที่หว่านจะมีบางส่วนที่ค้างบนใบอ้อย  การหวานปุ๋ยบางทีเกษตรกรต้องรอฝนตกทับเพื่อให้ปุ๋ยละลายถ้าฝนตกช้าจะมีปุ๋ยบางส่วนที่ละเหยไปในอากาศ  การให้ปุ๋ยด้วยเครื่องให้ปุ๋ยอัตโนมัติจะทำให้ปัญหาดังกล่าวหมดไปสาเหตุเพราะ ปุ๋ยจะผสมไปกับน้ำอ้อยสามารถนำไปใช้ได้เลยโดยที่ไม่มีการสุญเสียใด ๆ

การลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีให้กับเกษตรกร
            จากผลการทดลองเครื่องให้ปุ๋ยอัตโนมัติสามารถลดการใช้ปุ๋ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยได้จริงโดยผู้ประดิษฐ์ได้ใช้ทดลองกับไร่อ้อยพบว่า ใช้ปุ๋ยลดลงไร่ละ  25  กก. ผลผลิตที่ได้ไม่แตกต่างกันมากนัก เหตุผลคือเครื่องให้ปุ๋ยอัตโนมัติสามารถใช้กับปุ๋ยชีวภาพได้  ซึ่งเกษตรกรชาวไร่อ้อยไม่นิยมใช้สาเหตุเพราะมีความยุ่งยากในการนำไปสู่ต้นอ้อย ซึ่งปุ๋ยชีวภาพเกษตรสามารถผลิตได้เองเพียงแต่ต้องลงมือศึกษาถึงวิธีการทำเท่านั้นและเครื่องให้ปุ๋ยอัตโนมัติยังสามารถความสูญเสียที่เกิดจากการหว่านปุ๋ยของเกษตรกร

การลดเวลาและค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้างแรงงานของเกษตรกร
            จากการใช้เครื่องให้ปุ๋ยอัตโนมัติพบว่าสามารถลดค่าจ้างด้านแรงงาน ที่ใช้ในการหว่านปุ๋ยได้เพราะเกษตรกรสามารถผสมปุ๋ยเองได้ เครื่องให้ปุ๋ยอัตโนมัติสามารถควบคุมอัตราการไหลได้ เกษตรสามารถกำหนดอัตราการไหลให้เหมาะสมกับไร่อ้อย และระบบน้ำที่ใช้ได้ ระบบน้ำที่นิยมใช้ในไร่อ้อยมี  2 ระบบคือระบบปล่อยตามร่อง และระบบน้ำหยด



ท่านใดสนใจข้อมูลเพิ่มเติมไปพบกันได้  ที่ อิมแพค ฮอล 9 นะครับ  
วันนักประดิษฐ์ 2-5  กุมภาพันธ์ 2557 ครับ

พวกเราจะตอบแทนคุณแผ่นดินด้วยปัญญาของพวกเรา


ไม่มีความคิดเห็น: