วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

รถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้า

1. ชื่อผลงานสิ่งประดิษฐ์ รถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้า 2. ประเภทผลงาน สิ่งประดิษฐ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 3. วิทยาลัยการอาชีพพนมทน อาชีวศึกษาจังหวัด กาญจนบุรี 4. ชื่อผู้ประดิษฐ์ 1. นายณัฐพงศ์ วงษ์แก้ว แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 2. นายณรงค์ศักดิ์ ดีคำ แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 3. นายนัฐพงษ์ สุดนาวา แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 4. นายพีระพัฒน์ เรื่องอร่าม แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 5. นายมารุต ผันสืบ แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 6. นายวีรพงษ์ สมคิด แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 7. นายสนั่น แผนปั้น แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 8. นายอธิป พรมภิมาน แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 9. นายไพศาล โตลูกสม แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 5. ครูที่ปรึกษา 1. นายอำพล กาญจนแพทย์นุกูล ตำแหน่ง ครูสอนพิเศษ แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า 2. นายวิรัช วิริยาลัย ตำแหน่ง หัวหน้าแผนกช่างไฟฟ้า แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า 3. นายสิปปกร โสธรบุญ ตำแหน่ง ครูสอนพิเศษ แผนกวิชา ช่างไฟฟ้า 6. บทคัดย่อ การดำเนินการสร้าง รถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้า เกิดขึ้นจากแนวความคิด ที่ต้องการประหยัดพลังงานน้ำมัน เป็นพาหนะเดินทางในระยะทางไม่ไกล ใช้เดินทางในที่แคบ เป็นพาหนะที่มีน้ำหนักเบา ขนย้ายได้สะดวก และง่ายในการบำรุงรักษา จากแนวคิดนี้นักศึกษาแผนกช่างไฟฟ้า ชั้น ปวช. 3 จึงได้ระดมความคิดในการสร้างรถพลังงานไฟฟ้า ซึ่งนักศึกษาได้เห็นการออกแบบโครงรถ 2 ล้อไฟฟ้า จากร้านทำท่อไอสียแห่งหนึ่งซึ่งเจ้าของร้านได้ผลิตรถที่ใช้พลังงานน้ำมันแต่ใช้เครื่องตัดหญ้าเป็นต้นกำลัง นักศึกษาจึงได้แนวคิดที่จะดัดแปลงระบบต้นกำลังใหม่ เปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้าแทน การสร้างสิ่งประดิษฐ์นักศึกษาได้ซื้อโครงรถมาประกอบและดัดแปลงตัวโครงรถ เพื่อที่จะใช้มอเตอร์เป็นตัวต้นกำลัง อีกทั้งได้ออกแบบระบบไฟฟ้าเพื่อใช้ควบคุมระบบการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า ระบบการประจุแบตเตอร์รี่ และระบบการส่งถ่ายกำลัง เมื่อได้ทำการสร้างประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ของตัวรถเข้าด้วยกันแล้วได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของตัวรถซึ่งผลการทดลอง รถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้า สามารถวิ่งได้ความเร็วที่ 20 กิโลเมตร/ ชั่วโมง ที่น้ำหนักบรรทุก 75 กิโลกรัม พื้นที่ที่มีความลาดเอียง 30 องศารถ 2 ล้อไฟฟ้าสามารถขึ้นได้อย่างสบาย การประจุไฟฟ้าเต็ม 1 ครั้งรถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ 8 กิโลเมตรโดยที่ไม่หยุด ระบบเบรคจะตัดการทำงานมอเตอร์ทันทีขณะทำการเบรครถเป็นการป้องกันมอเตอร์ไม่ให้เกิดความเสียหายขณะเบรค รถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้าเป็นรถที่ใช้พลังงานสะอาดไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ในยุคที่ราคาน้ำมันแพง รถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้าสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของครอบครัวลงได้รถ 2 ล้อไฟฟ้าเป็นรถที่มีน้ำหนักเบา สะดวกในการเคลื่อนย้ายและการบำรุงรักษา 7. ทฤษฎี / หลักวิชาการที่นำมาใช้ในการประดิษฐ์ โดยทั่วไปพาหนะที่ใช้เดินทางในยุคปัจจุบันจะใช้ต้นกำลังเป็นเครื่องยนต์ที่ต้องใช้พลังงานน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานการทำงานของเครื่องยนต์จะคายไอเสียออกมาซึ่งไอเสียนี้จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ รถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้าได้เปลี่ยนต้นกำลังจากเครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานน้ำมัน เป็นมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอร์รี่ 24 โวลท์ เป็นแหล่งจ่ายพลัง พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานที่สะอาดไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อใช้พลังงานหมดไปแล้วสามารถบรรจุไฟกลับมาใหม่ได้ อีกทั้งหลักการควบคุมพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายให้มอเตอร์ไฟฟ้าสามารถปรับความเร็วได้และระบบป้องกันมอเตอร์ขณะทำการเบรก 8. วัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ 1. เพื่อใช้งานภายในวิทยาลัยการอาชีพพนมทวน 2. เพื่อลดเวลาในการทำงาน การทำงานมีความรวดเร็วมากขึ้น 3. เพื่อลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของวิทยาลัยการอาชีพพนมทวนกาญจนบุรี 4. เพื่อให้รู้จักคิดและวางแผนในการปฏิบัติงาน 5. เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชาช่างไฟฟ้ามาปรนะยุกต์ใช้งานในการปฏิบัติงาน 9. คุณสมบัติหรือคุณลักษณะเฉพาะของผลงานประดิษฐ์ 1. เป็นรถที่ปลอกภัยต่อสิ่งแวดล้อม 2. เป็นพาหนะที่มีน้ำหนักเบาเคลื่อนย้ายได้สะดวก 3. สามาเดินทางไปที่แคบ ๆ ได้ 4. มีความสะดวกในการดูแลรักษา 5. ประหยัดพลังงานเมื่อเทียบกับต้นกำลังที่เป็นเครื่องยนต์ 10. ประโยชน์และคุณค่าสิ่งประดิษฐ์ 1. ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางใช้ในองค์กรณ์หรือสำนักงานที่มีพื้นที่สำนักงานกว้าง 2. รถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้าเป็นรถที่รักษาสิ่งแวดล้อมในการใช้งานไม่มี่ของเสียเข้าสู่บรรยากาศ 3. ในยุคที่ราคาน้ำมันแพง รถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้าสามารถช่วยให้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของครอบครั้งลดลง 4. รถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้าได้ออกแบบให้ง่ายและสะดวกในการบำรุงรักษาตัวรถ 5. ในช่องทางที่แคบรถ 2 ล้อพลังงานไฟฟ้า สามารถใช้เดินทางได้เพราะตัวรถมีความกว้าง เพียง 56 cm. รวมทั้งมีน้ำหนักเบาทำให้สะดวกในการเคลื่อนย้าย 6. ทำให้สมาชิกในกลุ่ม นำความรู้ที่ได้ในการเรียนวิชาช่างไไฟฟ้ามาประยุกต์ใช้ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ รู้จักวางแผนการทำงาน รู้จักแก้ปัญหาในการทำงาน

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

mefu,kd
ทำได้ดีมากครับ