วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

น้ำสบู่เหลวจากขี้เถ้าเปลือกกล้วยน้ำว้า

น้ำสบู่เหลวจากขี้เถ้าเปลือกกล้วยน้ำว้า

1. ชื่อผลงานสิ่งประดิษฐ์ น้ำสบู่เหลวจากขี้เถ้าเปลือกกล้วยน้ำว้า

2. ประเภทผลงาน ประเภทที่ 3 สิ่งประดิษฐ์ประเภทผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

3. วิทยาลัย วิทยาลัยการอาชีพพนมทวน อาชีวศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี

4. ชื่อผู้ประดิษฐ์
1. นางสาวปราณี สุจริตจุล แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ชั้น ปวส. 1(หัวหน้า)
2. นางสาววิภานี แย้มศักดิ์ แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ชั้น ปวส. 1
3. นางสาวปทุมพร นาคพันธ์ แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ชั้น ปวส. 1

5. ชื่อครูที่ปรึกษา
1. นางสาวปิยนุช ชัยพฤติตานนท์ ตำแหน่ง พนักงานราชการ แผนกวิชาสามัญ(หัวหน้า)
2. นางกัญญา หมอกลาง ตำแหน่ง ครู คศ.2 แผนกวิชาสามัญ
3. นางสาวญาณิศา หงส์ทอง ตำแหน่งพนักงานราชการ แผนกวิชาพาณิชยกรรม




6. บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง การทำน้ำสบู่เหลวจากขี้เถ้าเปลือกกล้วยน้ำว้า
ผู้ศึกษา นางสาว ปราณี สุจริตจุล
นางสาว วิภานี แย้มศักดิ์
นางสาว ปทุมพร นาคพันธ์
ที่ปรึกษา อาจารย์ปิยนุช ชัยพฤติตานนท์
อาจารย์กัญญา หมอกลาง
อาจารย์ญาณิศา หงส์ทอง
ระยะเวลาในการศึกษา ตั้งแต่ 10 ตุลาคม 2549 ถึง 10 พฤศจิกายน 2549

จากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกล้วยน้ำว้ากล้วยน้ำว้าเป็นพืชบ้านที่รู้จักกันดีและปลูกง่ายโตเร็ว และสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายรูปแบบได้ทั้งคาวและหวานซึ่งกล้วยนั้นยังมีสาร sitoindosides I – IV ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบและเป็นแผล พบว่า sitoindosides I – IV กระตุ้นให้มีการหลั่งสารเมือกออกมากขึ้น เพื่อเคลือบผนังกระเพาะอาหาร กระตุ้นให้มีการสร้างเนื้อเยื่อของกระเพาะอาหารขึ้นปิดปากแผลและสารแทนนิน นั้นมี 2 ชนิด คือ Condensed tannins พบได้ในส่วนเปลือกต้นเป็นส่วนใหญ่ และ Hydrotysable tannins พบมาในส่วนใบ ฝัก ซึ่งแทนนินมีฤทธิ์ฝาดสมาน ซึ่งเป็นยารักษาโรคท้องเสียได้ แทนนนินมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้

วัตถุประสงค์และการดำเนินงานตลอดจนการวิเคราะห์ผลงานและสรุปผลดังนี้

ผู้จัดทำมีเป้าหมายที่จะแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์นอกเหนือจากการนำมาบริโภคเพียงอย่างเดียวโดยนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำสบู่เหลวขึ้นโดยมีการทดสอบและปรับปรุงคุณภาพตลอดระยะเวลาการดำเนินงานให้เป็นไปตามของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์โดยประเมินค่าจากแบบสอบถามผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นพบว่าความพึงพอใจของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์น้ำสบู่เหลวจากขี้เถ้าเปลือกกล้วยน้ำว้าเปรียบเทียบกับน้ำสบู่เหลวที่ใช้ตามท้องตลาดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 อยู่ในเกณฑ์ความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

7. ที่มาของการคิดค้นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
กล้วยน้ำว้าเป็นพืชที่คนส่วนใหญ่รู้จักดีมากที่สุด เพราะสามารถนำส่วนต่างๆมาใช้ประโยชน์เช่นส่วนของต้นนิยมนำมาเป็นอาหารสัตว์หรือทำงานประดิษฐ์ ส่วนผลสุกใช้ในการรับประทานเป็นอาหารโดยตรงหรือสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น กล้วยอบแห้งส่งขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถ้าหากมีการปรับปรุงคุณภาพให้ดีกว่าเดิม และมีการเพิ่มปริมาณผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จะสามารถทำรายได้ให้กับประเทศได้มากโดยในการคิดจัดทำการแปลรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำสบู่เหลวจากขี้เถ้าเปลือกกล้วยน้ำว้าในครั้งนี้เนื่องด้วยในอำเภอพนมทวนมีผลผลิตที่เกี่ยวกับกล้วยเป็นจำนวนมากและส่วนมากจะใช้ผลในการผลิตส่วนเปลือกถ้าไม่นำไปทิ้งก็จะนำไปเป็นอาหารของสัตว์เลยจึงเล็งเห็นว่าเปลือกกล้วยที่มองแล้วไม่มีคุณค่าเราสามารถนำมาทดลองอะไรได้บ้าง
ดังนั้นผู้จัดทำจึงมีแนวคิดว่าเปลือกกล้วยที่มองแล้วไม่มีคุณค่าเราสามารถนำมาทดลองเพื่อให้เกิดประโยชน์ได้อีกมากมายและสามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าได้ เช่น การทำน้ำสบู่เหลวเพราะมีสารแทนนินในเปลือกกล้วยในการช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย


8. ประโยชน์และคุณค่าของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
1. เปลือกกล้วยมีสารแทนนินที่ช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
2. น้ำมันมะกอกช่วยในการบำรุงผิวไม่ให้ผิวแห้งแตกง่ายทำให้ผิวแข็งแรงสดใสและป้องกันอนุมูลอิสระ
3. ลดอาการผดผืนกับผิวหนังหรือคันตามมือและเท้า
4. ปกป้องการระคายเคือง ต่อมือและเท้าเพราะปราศจากสารเคมี





1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อยากทราบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นจะสามารถมีอายุการใช้งานได้ยาวนานเท่าไหร่หรอค่ะ ขอบคุณมากๆคะ